ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย

เพลงชาติไทยสมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน

ความคิดเรื่องเพลงประจำชาติ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ โดยได้รับ อิทธิพลตะวันตก ซึ่งมีเพลง ประจำชาติมาก่อน โดยเฉพาะอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ โดย นายทหารอังกฤษ ๒ คน ซึ่งเข้ามาเป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ ในวังหลวงและวังหน้าในปลาย รัชกาลที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ชื่อร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และร้อยเอกน๊อกซ์ (Thomas G. Knox) นายทหารอังกฤษทั้ง ๒ นายนี้ ได้ใช้เพลง กอดเสฟเดอะควีน (God Save the Queen) เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร และอังกฤษได้ใช้เพลงกอดเสฟเดอะควีนนี้ เป็นเพลง ประจำชาติ

ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษหมด ดังนั้นเพลงกอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ถึง ๒๔๑๔ เรียกกันว่า “เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ”

ฉบับที่ 1 คือ พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่โดยใช้ เนื้อ เพลงกอดเสฟเดอะควีนเดิม และตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า “จอมราชจงเจริญ” นับเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม

ฉบับที่ 2 คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาติที่มีความเป็นไทยมาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบันหรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็นสากลขึ้น โดย เฮวุดเซน(Heutsen) ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑

ฉบับที่ 3 คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี(ฉบับปัจจุบัน)ประพันธ์ โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ ของสมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติ ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๑-๒๔๗๕

ฉบับที่ 4 คือ เพลงชาติมหาชัย ใช้เป็นเพลงชาติ ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง การปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้น ประพันธ์โดย เจ้า พระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้อง และบรรเลงปลุกเร้าใจ ประชาชนก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคี ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางการเมือง

ฉบับที่ 5 คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ผู้ประพันธ์ทำนองมีคำร้องประ พันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๗

ฉบับที่ 6 คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉัน ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒ เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง “ราชการ” ฉบับแรก

ฉบับที่ 7 (เพลงชาติฉบับปัจจุบัน) คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เปลี่ยนคำร้องประพันธ์โดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ใช้เป็นเพลงชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ กระทั่งปัจจุบัน ครั้งนั้นทางรัฐบาลได้ประกาศประกวด เพลงชาติขึ้นใหม่ ในเดือน กันยายน ผลประกวดปรากฏ ผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวง สารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่ง ในนามของ กองทัพบก โดยรัฐบาล ได้ประกาศใช้เพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒

เนื้อร้องเพลงชาติไทย มีความหมายอย่างไร

1) ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ได้อธิบายความหมายของเพลงชาติไทยไว้คือ

ประเทศไทยเป็นถิ่นที่รวมชนผู้มีเลือดเนื้อเชื้อชาติไทยไว้ให้ได้อยู่อาศัยร่วมกัน แผ่นดินทุกส่วนของประเทศไทย ย่อมเป็นของชาวไทยทุกคน ประชาชนไทยรักษาแผ่นดินไทยทั้งหมดไว้ได้ ก็ด้วยทุกคนมีน้ำใจสามัคคี รักคนไทยด้วยกัน และรักประเทศชาติ ชนไทยรักที่จะอยู่อย่างสุขสงบ แต่ถ้าจำเป็นต้องรบกับศัตรูแล้วคนไทยไม่เคยขลาดกลัวเลย ไม่มีวันยอมให้ศัตรูหน้าไหนมาข่มขู่ทำลายความเป็นอิสระของชาติไทยได้ ทุกคนยอมสละเลือดทุกหยดเพื่อชาติไทยอยู่ยั่งยืน จะปกป้องคุ้มครองประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป และให้มีแต่ชัยชนะตลอด

2) คุณเอกรินทร์ สี่มหาศาลและคณะ ได้แปลความหมายของเพลงชาติไทยไว้ในหนังสือแบบเรียน ประวัติศาสตร์ ป.1 โดยสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ ไว้ว่า

ประเทศไทยเป็นที่รวมของคนไทย ทุกหนทุกแห่งเป็นของคนไทย
ชาติไทยดำรงอยู่ได้ เพราะคนไทยมีความสามัคคี
คนไทยเป็นผู้รักความสงบ แต่ถึงคราวรบก็ไม่เกรงกลัว
คนไทยจะไม่ยอมให้ใครมาย่ำยีเอกราชของชาติไทยเป็นอันขาด
เราพร้อมใจกันสละเนื้อและชีวิตเพื่อชาติ
ชาติไทยจะได้อยู่ด้วยความรุ่งเรืองและมีชัยชนะต่อไป

เนื้อเพลงชาติไทย แปลเป็นภาษาอังกฤษ

เนื้อเพลงชาติไทยที่เป็นภาษาอังกฤษ โดย Frank Freeman (อิศรา อมันตกุล) จากหนังสือ Slang ไม่ใช่ของแสลง มีดังนี้

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
Thailand Is Founded On Blood And Flesh

เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
Thai People Share, Every Portion Of The Land Belongs To Us,

อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
Thus We Must Care; The Reason Why This Country Still Exists

ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
Is Because The Thai People Have Long Loved Another And Been United

ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
We, Thai, Are Peace-loving People But In Time Of War, Uncowardly, We’ll Fight To The Bitter End. None Is Allowed To Oppress And Destroy

เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
Our Independence;

สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
To Sacrifice Every Droplet Of Blood As A National Offering, We Are Always Ready,

เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย
For The Sake Of Our Country’s Progress And Victory. Chaiyo

จะหาเพลงชาติไทยที่เป็นแบบ MP3 ฟังได้ที่ไหนบ้าง

คำตอบก็คือจาก อินเตอร์เน็ตนั่นเอง แต่ทั้งนี้เพลงทุกเพลงมีลิขสิทธิ์ โปรดใช้วิจารณญาณในการเลือกรับฟัง